หน้าเว็บ

บทที่ 9 การประยุกตืใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมุลด้วยโปรแกรม Micosoft Access

Microsoft Access ความหมาย
เขียนบนมิถุนายน 5, 2012
Microsoft Access คือ โปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล มีตารางเก็บข้อมูลและสร้างแบบสอบถามได้ง่าย มีวัตถุคอนโทลให้เรียกใช้ในรายงานและฟอร์ม สร้างมาโครและโมดูลด้วยภาษาเบสิก เพื่อประมวลผลตามหลักภาษาโครงสร้าง สามารถใช้โปรแกรมนี้เป็นเพียงระบบฐานข้อมูลให้โปรแกรมจากภายนอกเรียกใช้ก็ได้

ไมโครซอฟท์แอคเซส (Microsoft Access) ต่างกับ วิชวลเบสิก (Visual Basic) หรือ

วิชวลเบสิกดอทเน็ต (Visual Basic .Net) เพราะ วิชวลเบสิกไม่มีส่วนเก็บข้อมูลในตนเอง แต่สามารถพัฒนาโปรแกรมได้หลากหลาย เช่น พัฒนาโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ โปรแกรมประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์ เกมส์ หรือเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลภายนอก เป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application) ส่วนไมโครซอฟท์แอคเซสเหมาะสำหรับนักพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ไม่ต้องการโปรแกรมที่ซับซ้อน ความสามารถของโปรแกรมที่สำคัญคือสร้างตาราง แบบสอบถาม ฟอร์ม หรือรายงานในแฟ้มเดียวกันได้ ด้วยคุณสมบัติพื้นฐานและวิซซาร์ดจึงอำนวยให้พัฒนาโปรแกรมให้แล้วเสร็จได้ในเวลาอันสั้น มีเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอย่างครบถ้วน




ส่วนประกอบของ Microsoft Access 2010

เมื่อเราเปิดโปรแกรม  Access  ขึ้นมา  ก็จะพบเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการสร้างและจัดการฐานข้อมูล  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 




·   แท็บ  File  มีลักษณะเหมือนกับเมนู  File  ที่พบในโปรแกรมอื่นทั่วๆ  ไป  เช่น  File > Open, File > Save, File > Close  ซึ่งใช้เพื่อเปิดไฟล์  บันทึกไฟล์  หรือปิดไฟล์  รวมทั้งการปรับแต่งตัวเลือกในโปรแกรม
·   Quick  Access  Toolbar เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งาบ่อยๆ  โดยเราสามารถเพิ่มหรือลบปุ่มคำสั่งตามความเหมาะสม
·   Ribbon  เป็นรูปแบบของการเก็บคำสั่งและปุ่มที่ใช้ใน Access  โดยแบ่งเป็นแท็บ  โดยแต่ละแท็บยังแบ่งคำสั่งเอาไว้ให้เป็นกลุ่มย่อย  เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน
·   Navigation  Pane  จะแสดงชื่อฐานข้อมูล  และแสดงส่วนประกอบต่างๆ  ของ Access  เช่น  ตาราง  คิวรี  ฟอร์ม  รายงาน  ฯลฯ
·   Tabbed  Documents  ในกรณีที่เราเปิดตาราง  ฟอร์ม  คิวรี  รายงาน  รวมถึง  Object  อื่นๆ  เราจะพบเห็นแสดง  Object  ที่ถูกเปิดอยู่ทั้งหมด  เมื่อเราคลิกที่แท็บจะเป็นการสลับไปทำงานในส่วนนั้นๆ  ทันที
  Status  bar  จะแสดงข้อมูลบางอย่าง  และปุ่มสำสลับมุมมอง

แท็บ  File
                แท็บ  File  มีลักษณะเหมือนเมนู  File    ที่พบในโปรแกรมอื่นทั่วๆ  ไป  เช่น  File > Open, File > Save  หรือ  File > Close  ซึ่งใช้เพื่อไฟล์  บันทึกไฟล์  หรือปิดไฟล์ตามลำดับ





• Save  Database  As  ใช้สำหรับบันทึกแบบสร้างสำเนาใหม่ขึ้นมาอีกหนึ่งไฟล์  และสามารถเปลี่ยนชื่อไฟล์  หรือเปลี่ยนที่บันทึกไปเก็บยังโฟลเดอร์อื่นๆ  ได้  โดยรายชื่อไฟล์ที่เพิ่งเปิดใช้งานล่าสุดจะปรากฏแท็บ  File  นี้ด้วย
• Info  แสดงข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ฐานข้อมูล  และเครื่องไม้เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งในส่วนนี้จะเปลี่ยนไปตามฐานข้อมูลที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ในขณะนั้นๆ
• Recent  แสดงรายชื่อไฟล์ฐานข้อมูลที่เป็นใช้งานล่าสุด  ซึ่งกำหนดว่าจะให้แสดงกี่รายการ  โดยกำหนดตัวเลขด้านล่าง
• New  สร้างฐานข้อมูลใหม่  ซึ่งมีทั้งการสร้างฐานข้อมูลเปล่า  รวมถึงสร้างตาม  Template  ที่โปรแกรมได้เตรียมไว้ให้
• Print  สำหรับพิมพ์  โดยจากที่นี้สามารถดูผลลัพธ์ก่อนพิมพ์จาก  Print  Proview  ได้ด้วย
• Save & Publish  ใช้แปลงฐานข้อมูลสำหรับใช้กับ  Access  เวอร์ชันเดิม  เช่น  Access  97-2003  หรือ Access  2007  ตลอดจนไฟล์ฐานข้อมูลอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง  เช่น  การแชร์ไฟล์กับ  Shared  Point,  การแบ็คอัพฐานข้อมูลการ  Sign  เพื่อกำหนดสิทธิ์การใช้ฐานข้อมูล  และส่วนของ  Publish  ยังมีคำสั่งในการบันทึกเป็นเว็บเพจอีกด้วย
• Help  ระบบช่วยเหลือของ  Access
• Options  สำหรับปรับแต่งตัวเลือก  หรือกำหนดค่าต่างๆ  ให้กับ  Access


 


แท็บ  File  เป็นคุณสมบัติใหม่ที่พบใน  Microsoft  Office  2010  มีลักษณะคล้ายกับเมนู  File  ของ  Office  รุ่นเก่าๆ  ที่หลายคนคุ้นเคย
ชุดเครื่องมือของโปรแกรม  Access  2010
 คำสั่งและปุ่มต่างๆ  จะถูกเก็บอยู่ในริบบอน  (Ribbon)  ซึ่งภายในริบบอนจะถูกแบ่งออกเป็นแท็บย่อยๆ  ดังนี้
แท็บ  Home  เป็นแท็บรวบรวมชุดเครื่องมือพื้นฐานที่ผู้ใช้ส่วนมากต้องมีใช้บ่อยๆ  เป็นประจำ  อย่างเช่น  การเปลี่ยนมุมมอง  การตัดและแปะข้อมูล  การเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร  การเพิ่มลบข้อมูลในตาราง  การกรองข้อมูล  และการค้นหาข้อมูล  ในการเปิดโปรแกรม  Access  ทุกครั้งก็จะพบแท็บ  Home  เป็นแท็บแรกเสมอ




แท็บ  Create  เป็นแท็บที่ใช้สำหรับออบเจ็กต์  หรือองค์ประกอบต่างๆ  ลงไปในฐานข้อมูล  อันได้แก่  ตาราง  ฟอร์ม  รายงาน  และคิวรี  รวมถึง  Macro


แท็บ  External  Data  เป็นแท็บที่มีคำสั่งเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับภายนอก  เช่น  ข้อมูลจากไฟล์อื่นของ  Access  หรือจากไฟล์  Excel  มาใช้  การบันทึกข้อมูลให้เป็นตาราง  Excel  หรือบันทึกเป็นเอกสาร  Word  เป็นต้น


แท็บ  Database  Tools  เป็นแท็บที่มีคำสั่งในการจัดการฐานข้อมูล  เช่น  การสร้าง  Macro  และเขียนคำสั่ง  การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตาราง  การวิเคราะห์ข้อมูล  การจัดการโยกย้ายฐานข้อมูล  และการเข้ารหัสฐานข้อมูล  



จากข้างต้นจะพบว่า  Access  มีแท็บหลักๆ  อยู่  4  แท็บ  (Main  Tab)  คือ  Home,  Create,  External  Data  และ  Database  Tools  ซึ่งเราจะเห็นแท็บเหล่านี้ตลอดเวลา  แต่เมื่อที่ได้คลิกเลือกสิ่งที่สนใจ  เช่น  คลิกที่ตาราง  ก็จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นมา  (เรียกว่า  Tool  Tabs)  โดยแท็บพิเศษเหล่านี้จะถูกปรับเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างแรก  หากมีการเปิดตารางขึ้นมา  ก็จะพบ  Table  Tools  ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตาราง  เช่น  การกำหนดประเภทข้อมูลในตาราง  หรือการปรับแต่งสีสันในตาตาราง  เป็นต้น



ปรับเปลี่ยน  Ribbon
ใน  Microsoft  Office  2007  คำสั่งต่างๆ  จะถูกรวบรวมจัดเก็บลงในริบบอน  ซึ่งแต่เดิมจะไม่สามารถปรับแต่งแก้ไขริบบอนได้  ต่างจาก  Office  2010  ที่สามารถปรับแต่งหรือสร้างริบบอนได้อย่างอิสระดังแสดง
ในตัวอย่างต่อไปนี้






 










สร้างตาราง
นำไปใช้กับ: Access 2007
เมื่อคุณสร้างฐานข้อมูล คุณจะเก็บข้อมูลในตารางซึ่งเป็นรายการที่ยึดตามเรื่องที่มีแถวและคอลัมน์ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถสร้างตาราง ที่ติดต่อ เพื่อเก็บรายชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ หรือสร้างตาราง ผลิตภัณฑ์ เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

บทความนี้จะอธิบายวิธีสร้างตาราง วิธีเพิ่มเขตข้อมูลลงในตาราง และวิธีตั้งค่าคีย์หลักของตาราง และยังอธิบายวิธีตั้งค่าคุณสมบัติของเขตข้อมูลและตารางด้วย

เนื่องจาก วัตถุฐานข้อมูล อื่นๆ จะขึ้นอยู่ตารางเป็นสำคัญ ดังนั้น คุณควรเริ่มต้นออกแบบฐานข้อมูลของคุณด้วยการสร้างตารางทั้งหมดแล้วจึงสร้างวัตถุอื่นๆ ก่อนสร้างตาราง ให้พิจารณาความต้องการของคุณให้รอบคอบ และกำหนดตารางทั้งหมดที่คุณต้องการ สำหรับบทนำสู่การวางแผนและการออกแบบฐานข้อมูล ให้ดูบทความที่ชื่อว่า พื้นฐานการออกแบบฐานข้อมูล
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้อธิบายวิธีสร้างตารางโดยใช้ คิวรีแบบสร้างข้อกำหนดข้อมูล ค้นหาลิงก์ไปยังข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคิวรีแบบสร้างข้อกำหนดข้อมูลได้ในส่วน ดูเพิ่มเติม
ในบทความนี้
ภาพรวม
ก่อนที่คุณจะเริ่มต้น
สร้างตารางใหม่
การแทรก เพิ่ม หรือสร้างเขตข้อมูลใหม่ในตาราง
บันทึกตาราง
ภาพรวม

ตารางเป็นวัตถุฐานข้อมูลที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น พนักงาน หรือผลิตภัณฑ์ ตารางประกอบด้วยระเบียนและเขตข้อมูล

แต่ละระเบียนจะมีข้อมูลเกี่ยวกับหนึ่งอินสแตนซ์ของชื่อเรื่องตาราง เช่น พนักงานรายใดรายหนึ่ง ระเบียนมักเรียกว่า แถวหรืออินสแตนซ์

แต่ละเขตข้อมูลจะมีข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบของชื่อเรื่องตาราง เช่น ชื่อ หรือที่อยู่อีเมล หนึ่งรูปแบบ เขตข้อมูลมักเรียกว่า คอลัมน์หรือแอตทริบิวต์

เขตข้อมูลประกอบด้วยค่าเขตข้อมูล เช่น Contoso, Ltd. หรือ someone@example.com ค่าเขตข้อมูลมักเรียกว่า fact


ตารางลูกค้าใน Access แสดงเค้าโครงของระเบียนและเขตข้อมูล




1 . ระเบียน
2. เขตข้อมูล
3. ค่าเขตข้อมูล

ฐานข้อมูลสามารถมีตารางได้หลายตาราง ซึ่งแต่ละตารางจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่แตกต่างกัน แต่ละตารางจะมีหลายเขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยข้อมูลชนิดต่างๆ เช่น ข้อความ ตัวเลข วันที่ และไฮเปอร์ลิงก์

คุณสมบัติของตารางและคุณสมบัติของเขตข้อมูล
ตารางและเขตข้อมูลจะมีคุณสมบัติที่คุณสามารถตั้งค่าเพื่อควบคุมฟีเจอร์หรือลักษณะการทำงานของตารางและเขตข้อมูลเหล่านั้นได้ด้วย  

แผ่นคุณสมบัติของตารางและแผ่นคุณสมบัติของเขตข้อมูล

1. คุณสมบัติของตาราง
2. คุณสมบัติของเขตข้อมูล
ในฐานข้อมูล Access คุณสมบัติของตารางจะเป็นแอตทริบิวต์ของตารางที่มีผลต่อลักษณะที่ปรากฏหรือลักษณะการทำงานของตารางทั้งหมด คุณสมบัติของตารางจะถูกตั้งค่าในแผ่นคุณสมบัติของตารางในมุมมองออกแบบ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถตั้งค่าคุณสมบัติ มุมมองเริ่มต้น ของตาราง เพื่อระบุวิธีแสดงตารางตามค่าเริ่มต้น
คุณสมบัติของเขตข้อมูลจะนำไปใช้กับเขตข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงในตาราง และกำหนดหนึ่งฟีเจอร์ของเขตข้อมูลหรือรูปแบบของลักษณะการทำงานของเขตข้อมูล คุณสามารถตั้งค่าบางคุณสมบัติของเขตข้อมูลใน มุมมองแผ่นข้อมูล คุณยังสามารถตั้งค่าคุณสมบัติของเขตข้อมูลในมุมมองออกแบบได้โดยใช้บานหน้าต่าง คุณสมบัติของเขตข้อมูล
ชนิดข้อมูล
ทุกเขตข้อมูลจะมีชนิดข้อมูล ชนิดข้อมูลของเขตข้อมูลจะระบุชนิดของข้อมูลที่เขตข้อมูลนั้นเก็บอยู่ เช่น ข้อความหรือไฟล์ที่แนบจำนวนมาก

การตั้งค่าชนิดข้อมูล


 ชนิดข้อมูลคือคุณสมบัติของเขตข้อมูล แต่จะมีข้อแตกต่างจากคุณสมบัติของเขตข้อมูลอื่น ดังนี้
คุณจะตั้งค่าชนิดข้อมูลของเขตข้อมูลในตารางออกแบบตาราง ไม่ใช่ในบานหน้าต่าง คุณสมบัติของเขตข้อมูล
ชนิดข้อมูลของเขตข้อมูลจะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติอื่นๆ ที่เขตข้อมูลมี
คุณต้องตั้งค่าชนิดข้อมูลของเขตข้อมูลเมื่อสร้างเขตข้อมูล
คุณสามารถสร้างเขตข้อมูลใหม่ใน Access ได้โดยใส่ข้อมูลในคอลัมน์ใหม่ในมุมมองแผ่นข้อมูล เมื่อสร้างเขตข้อมูลโดยใส่ข้อมูลในมุมมองแผ่นข้อมูล Access จะกำหนดชนิดข้อมูลสำหรับเขตข้อมูลนั้นโดยอัตโนมัติตามค่าที่คุณใส่ ถ้าไม่มีชนิดข้อมูลอื่นตามที่คุณใส่ Access จะตั้งค่าชนิดข้อมูลนั้นเป็นข้อความ ถ้าจำเป็น คุณสามารถเปลี่ยนชนิดข้อมูลได้โดยใช้ Ribbon ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ส่วนติดต่อผู้ใช้ของ Microsoft Office Fluent ใหม่
การตั้งค่าขนาดเขตข้อมูล
นำไปใช้กับ: Access 2010
คุณสามารถปรับขนาดเนื้อที่ใช้งานของแต่ละระเบียนในตารางได้ โดยการเปลี่ยนคุณสมบัติขนาดเขตข้อมูลประเภทตัวเลขในตาราง คุณยังสามารถเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูลของเขตข้อมูลที่เก็บข้อมูลประเภทข้อความได้ แต่การดำเนินการนี้จะมีผลต่อขนาดเนื้อที่ที่ใช้น้อยกว่า
ในบทความนี้
สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อฉันเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูล
การเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูลของเขตข้อมูลประเภทตัวเลข
การเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูลของเขตข้อมูลประเภทข้อความ
สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อฉันเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูล
คุณสามารถเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูลของเขตข้อมูลที่ว่างเปล่าหรือที่มีข้อมูลอยู่แล้วได้ ผลของการเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูลจะขึ้นอยู่กับว่าเขตข้อมูลมีข้อมูลอยู่แล้วหรือไม่
กรณีที่เขตข้อมูลไม่มีข้อมูลอยู่     เมื่อคุณเปลี่ยนขนาดข้อมูล ขนาดของค่าข้อมูลใหม่จะถูกจำกัดไว้สำหรับเขตข้อมูลนั้น สำหรับเขตข้อมูลประเภทตัวเลข ขนาดเขตข้อมูลจะกำหนดเนื้อที่ดิสก์ที่แน่นอนที่ Access จะใช้สำหรับแต่ละค่าของเขตข้อมูล สำหรับเขตข้อมูลประเภทข้อความ ขนาดเขตข้อมูลจะกำหนดขนาดเนื้อที่ดิสก์สูงสุดที่ Access จะอนุญาตสำหรับแต่ละค่าของเขตข้อมูล
กรณีที่เขตข้อมูลมีข้อมูลอยู่     เมื่อคุณเปลี่ยนขนาดข้อมูล Access จะตัดทอนค่าทั้งหมดในเขตข้อมูลที่เกินขนาดเขตข้อมูลที่ระบุ และยังจำกัดขนาดของค่าข้อมูลใหม่ไว้สำหรับเขตข้อมูลนั้น ดังที่อธิบายไว้ด้านบน




ด้านบนของหน้า
การเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูลของเขตข้อมูลประเภทตัวเลข
เคล็ดลับ: ถ้าเขตข้อมูลที่คุณต้องการเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูลนั้นมีข้อมูลอยู่แล้ว ให้พิจารณาการสำรองฐานข้อมูลของคุณก่อนที่จะดำเนินการ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูในส่วน ดูเพิ่มเติม
ในบานหน้าต่างนำทาง ให้คลิกขวาที่ตารางที่มีเขตข้อมูลที่คุณต้องการเปลี่ยน แล้วคลิก มุมมองออกแบบ
ในตารางออกแบบตาราง ให้เลือกเขตข้อมูลที่ต้องการเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูล
ในบานหน้าต่าง คุณสมบัติเขตข้อมูล บนแท็บ ทั่วไป ให้ใส่ขนาดเขตข้อมูลใหม่ในคุณสมบัติ ขนาดเขตข้อมูล คุณสามารถเลือกจากค่าต่อไปนี้
Byte  สำหรับจำนวนเต็มตั้งแต่ 0 ถึง 255 ความต้องการที่เก็บคือ 1 ไบต์
Integer  สำหรับจำนวนเต็มตั้งแต่ -32,768 ถึง +32,767 ความต้องการที่เก็บคือ 2 ไบต์
Long Integer  สำหรับจำนวนเต็มตั้งแต่ -2,147,483,648 ถึง +2,147,483,647 ความต้องการที่เก็บคือ 4 ไบต์
เคล็ดลับ: ใช้ชนิดข้อมูล Long Integer เมื่อคุณสร้าง Foreign key เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเขตข้อมูลกับเขตข้อมูลคีย์หลัก AutoNumber ของตารางอื่น
Single  สำหรับค่าตัวเลขที่มีจุดทศนิยมตั้งแต่ -3.4 x 1038 ถึง +3.4 x 1038 และมีเลขนัยสำคัญได้ถึง 7 หลัก ความต้องการที่เก็บคือ 4 ไบต์
Double  สำหรับค่าตัวเลขที่มีจุดทศนิยมตั้งแต่ -1.797 x 10308 ถึง +1.797 x 10308 และมีเลขนัยสำคัญได้ถึง 15 หลัก ความต้องการที่เก็บคือ 8 ไบต์
 Replication ID  สำหรับเก็บ GUID ที่จำเป็นสำหรับการจำลองแบบ ความต้องการที่เก็บคือ 16 ไบต์
 หมายเหตุ: การจำลองแบบไม่ได้รับการสนับสนุนในรูปแบบแฟ้ม .accdb
 Decimal  สำหรับค่าตัวเลขตั้งแต่ -9.999... x 1027 ถึง +9.999... x 1027 ความต้องการที่เก็บคือ 12 ไบต์
 ด้านบนของหน้า
 การเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูลของเขตข้อมูลประเภทข้อความ

เคล็ดลับ: ถ้าเขตข้อมูลที่คุณต้องการเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูลนั้นมีข้อมูลอยู่แล้ว ให้พิจารณาการสำรองฐานข้อมูลของคุณก่อนที่จะดำเนินการ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูในส่วน ดูเพิ่มเติม

เปิดตารางที่มีเขตข้อมูลที่คุณต้องการเปลี่ยน

เลือกเขตข้อมูลที่คุณต้องการเปลี่ยนขนาดเขตข้อมูล จากนั้นบน Ribbon ให้คลิกแท็บ ปรับเปลี่ยนเขตข้อมูล

ในกลุ่ม คุณสมบัติ ให้คลิก เพิ่มเติม แล้วคลิก ขนาดเขตข้อมูล

ใส่ขนาดเขตข้อมูลใหม่ในกล่อง ขนาดเขตข้อมูล คุณสามารถใส่ค่าตั้งแต่ 1 ถึง 255 ตัวเลขนี้จะระบุจำนวนอักขระสูงสุดที่จะมีได้สำหรับแต่ละค่า ถ้าคุณต้องการมากกว่า 255 อักขระ ให้ใช้ชนิดข้อมูล Memo แทน

หมายเหตุ: สำหรับข้อมูลในเขตข้อมูลประเภทข้อความ Access จะไม่สงวนเนื้อที่เกินกว่าที่จำเป็นในการรักษาค่าจริง ค่า ขนาดเขตข้อมูล คือ ขนาดของค่าเขตข้อมูลสูงสุด

ด้านบนของหน้า

ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่  ใช่  ไม่ใช่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น