การประยุกต์ใช้งานโปรแกรม
ปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทำงานได้หลายอย่าง
ผู้ใช้ควรเรียนรู้ว่าใครควร จะใช้โปรแกรมใด ใช้ทำอะไร และใช้อย่างไร ตัวอย่างเช่น
นักวิเคราะห์ใช้โปรแกรมตารางทำงานการคำนวณยอดขาย นักออกแบบกราฟิกใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ตกแต่งภาพ
เลขานุการใช้โปรแกรม ประมวลผลคำพิมพ์จดหมาย
และใช้อีเมล์ในการติดต่อสื่อสารผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่าง
ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งถ้าโปรแกรมพัฒนาขึ้นเพื่อความต้องการเฉพาะขององค์การใดองค์การหนึ่ง
จะเรียกซอฟต์แวร์ประเภทนี้ว่า ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน (Custom
program หรือ Tailor-made software) ซึ่งข้อดีคือ
โปรแกรมสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความประสงค์ของหน่วยงาน
แต่ข้อเสียคือซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะใช้เวลาในการพัฒนานานและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับงานทั่ว ๆ ไป (General purpose software) หรือบางครั้งเรียกว่า
โปรแกรมสำเร็จรูป (Package software) เป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์
(Commercial software) ที่ผู้ใช้สามารถซื้อไปประยุกต์ใช้งานได้ทันที
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็นประเภทใหญ่
ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐานและซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
หากคุณต้องการใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสาร คำนวณ จัดการหลักฐานข้อมูล และทำงานนำเสนอ
สามารถเลือกใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน
สำหรับซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงานเป็นซอฟต์แวร์
สำหรับงานเฉพาะอย่างและสำหรับแต่ละสาขาอาชีพ
ซึ่งจะรวมถึงซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับเว็บด้วย ตัวอย่างเช่น
นักออกแบบกราฟิกใช้โปรแกรม Adobe Photoshop
ในการจัดการเกี่ยวกับภาพกราฟิกต่าง
ๆ และบริษัทสายการบินใช้โปรแกรมขายตั๋วเครื่องบินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
มีซอฟต์แวร์ประยุกต์จำนวนมากที่สามารถดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตมาใช้ได้ฟรี
โดยจะเรียกซอฟต์แวร์เหล่านี้ว่า ฟรีแวร์ (Freeware) นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมประเภทแชร์แวร์
(Shareware) ซึ่งสามารถทดลองใช้ได้ก่อน
ถ้าพอใจจึงจะติดต่อขอซื้อหรือขอรับรหัสการใช้งานแบบเต็มประสิทธิภาพ
โดยทั่วไปซอฟต์แวร์ประยุกต์จะถูกติดตั้งในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือขององค์การแต่ไม่นานมานี้มีซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งลงในเครื่องของตนเอง
แต่สามารถใช้งานผ่านเว็บได้
การใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ทำงานผ่านเว็บกำลังเป็นที่นิยมมากในระบบธุรกิจ
เรียกซอฟต์แวร์ประยุกต์แบบนี้ว่า ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ทำงานผ่านเว็บ หรือ
เว็บเบสแอพพลิเคชัน (Web based application)
ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือเอเอสพี
(Application Service Provider : ASP) จะให้บริการแก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงซอฟต์แวร์ประยุกต์บนเว็บไซต์นั้น
ๆ โดยผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ
คัดลอกซอฟต์แวร์ประยุกต์ไปยังหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์
และดำเนินการประมวลผล
ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ส่วนใหญ่จัดเตรียมซอฟต์แวร์ไว้ให้หลากหลายประเภทและเก็บค่าบริการกับผู้ใช้
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน (Basic
application) หรือบางครั้งเรียกว่าซอฟต์แวร์ประยุกต์อเนกประสงค์ (General-purpose application) หรือ ซอฟต์แวร์ช่วยเพิ่มผลผลิต (Productivity application) เป็นซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
ได้แก่ โปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมตารางทำงาน
โปรแกรม นำเสนอ และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
1. โปรแกรมประมวลผลคำ
โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor)
เป็นโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ในการสร้างเอกสาร
(Document) ซึ่งมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือตามองค์กรต่าง
ๆ ใช้ในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ เช่น บันทึก จดหมาย คู่มือ และแผ่นพับ
นอกจากนี้โปรแกรมประมวลผลคำยังสามารถใช้สำหรับการสร้างเว็บเพจส่วนตัวได้ด้วย
โปรแกรมประมวลผลคำที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ Microsoft Word,
Corel WordPerfect และ Lotus word Pro
2.โปรแกรมตารางทำการ
โปรแกรมตารางทำงาน (Spreadsheet program) ใช้สำหรับคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นตัวเลข
และสร้างแผนภูมิ เช่น งบประมาณและรายงานทางการเงิน
นิยมสำหรับผู้ใช้ในเกือบทุกสาขาอาชีพ เช่น ด้านการศึกษา อาจารย์ใช้เก็บข้อมูล
คำนวณ หาค่าเฉลี่ย และผลการเรียนของนักศึกษา ด้านการตลาด
อาจใช้สำหรับวิเคราะห์แนวโน้มเกี่ยวกับการขาย ด้านการเงิน
อาจใช้สำหรับประเมินและวาดกราฟแนวโน้มราคาหุ้น
โปรแกรมตารางทำการที่นิยมใช้กันมากมีอยู่ 3 โปรแกรม ได้แก่ Microsoft Excel, Corel Quattro Pro และ Lotus 1-2-3
โปรแกรมตารางทำการ
ใช้สำหรับจัดการข้อมูลที่เป็นตัวเลขและการสร้างไฟล์ข้อมูล ข้อมูลจะถูกเก็บ
ไว้ในไฟล์สมุดงาน (Workbook file) ซึ่งประกอบด้วยแผ่นงาน
(Worksheet) หรือแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet) หรือเรียกสั้น
ๆ ว่า ชีท (Sheet) จำนวนหนึ่งแผ่นหรือมากกว่า
แผ่นงานแต่ละแผ่นจะมีเส้นแบ่งระหว่างแถวและคอลัมน์
คอลัมน์จะถูกอ้างถึงโดยใช้ตัวอักษร แถวจะถูกอ้างถึงโดยใช้ตัวเลข
ส่วนที่ตัดกันระหว่างแถวกับคอลัมน์ เรียกว่า เซลล์ (Cell) ตัวอย่างเช่น เซลล์ D8 เป็นส่วนที่ตัดกันระหว่างคอลัมน์ D และแถวที่ 8
ในการป้อนข้อมูลลงเซลล์
สามารถพิมพ์ข้อความหรือตัวเลขก็ได้ เช่น ในภาพที่ 10.2 เซลล์ B8 มี ข้อความเป็น Food และเซลล์ D8 เป็นจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายของรายการดังกล่าว
ข้อมูลตัวเลขอาจจะเกิดจากการพิมพ์เลขนั้นเข้าไปหรือเกิดจากสูตรก็ได้ สูตร (Formula) คือ คำสั่งที่ใช้ในการคำนวณหรือประมวลผล เช่น
เซลล์ F15 (เป็นข้อมูลของ Net) เกิดจากการใช้สูตร
= E5-E13 คือ
เป็นค่าที่อยู่ในเซลล์ E5 (Wages) ลบค่าที่อยู่ในเซลล์ E13 (Total Expenses) ฟังก์ชัน (Function) คือ
สูตรที่มีการจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าโดยโปรแกรมตารางทำการ ใช้สำหรับการคำนวณต่าง ๆ
เช่น หาค่าผลรวมของเซลล์ที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น เซลล์ E13 เป็นผลจากการใช้ฟังก์ชัน =
SUM(D8:D12) เพื่อบวกค่าสะสมของเซลล์ D8 ถึง D12 ช่วงข้อมูล (Range) คือ
เซลล์ที่อยู่ติดกัน ในกรณีตั้งแต่เซลล์ D8, D9, D10, D11, D12
และแสดงผลรวมในเซลล์ E13
โปรแกรมตารางทำการได้จัดเตรียมฟังก์ชันไว้หลากหลาย ได้แก่ ฟังก์ชันทางด้านการเงิน
คณิตศาสตร์ สถิติ และด้านตรรกศาสตร์
3.โปรแกรมนำเสนอ
โปรแกรมนำเสนอ
(Presentation program) ใช้เพื่อสร้างงานนำเสนอที่น่าสนใจและมีลักษณะเป็นมืออาชีพ
นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารข้อความ
หรือชักจูงบุคคลให้มีความสนใจได้ ตัวอย่างเช่น
ผู้จัดการฝ่ายการตลาดจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางด้านการตลาด
พนักงานขายนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์
นักศึกษาใช้เพื่อนำเสนอรายงานที่ค้นคว้ามาได้ โปรแกรมนำเสนอที่นิยมใช้มี 3 โปรแกรม
คือ Microsoft PowerPoint, Corel Presentations และ Lotus Freelance Graphics
ไฟล์งานนำเสนอจะประกอบด้วยภาพนิ่ง (Slide) หลาย ๆ ภาพ
โปรแกรมสร้างงานนำเสนอบางโปรแกรมมีการใช้วิซาร์ด (Wizard)
อัตโนมัติช่วยแนะนำผู้ใช้ให้สามารถสร้างงานนำเสนอได้อย่างง่ายดาย
รวมถึงมีเครื่องมือใช้เลือกสี โครงร่าง แม่แบบ ลูกเล่นต่าง ๆ และต้นแบบภาพนิ่ง
4.
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database) เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน
ระบบจัดการฐานข้อมูล (Data base Management System : DBMS) เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำโครงสร้างของฐานข้อมูล
และมีเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับพิมพ์ แก้ไข และดึงข้อมูล
ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ออกแบบมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์และได้รับความนิยม
ได้แก่ Microsoft Access, Corel Paradox และ Lotus Approach
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational
database) เป็นฐานข้อมูลแบบโครงสร้างที่นิยมใช้กันมากที่สุด
ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในตาราง (Table) ที่มีความสัมพันธ์กัน
แต่ละตารางจะประกอบด้วยแถวที่เรียกว่า ระเบียน หรือ เรคอร์ด (Record) และคอลัมน์ที่เรียกว่า ฟิลด์ (Field) แต่ละ เรคอร์ด
ประกอบฟิลด์ของสิ่งที่ต้องการเก็บข้อมูล เช่น บุคคล สถานที่ หรือสิ่งของ
ระบบจัดการฐานข้อมูลได้จัดเตรียมเครื่องมือที่หลากหลายสำหรับสร้างและใช้ฐานข้อมูล
เช่น เครื่องมือในการเรียงลำดับเรคอร์ดตามฟิลด์ที่เลือก
แต่อย่างไรก็ตามประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของระบบจัดการฐานข้อมูลคือ
ความสามารถในการค้นหาและดึงข้อมูลที่อยู่ในตารางต่าง ๆ ที่แยกกันได้โดยการใช้เครื่องมือในการสอบถามข้อมูล
ฟอร์ม และรายงาน การสอบถามข้อมูล (Query) เป็นการเรียกค้นหาข้อมูลที่ต้องการฟอร์มจะมีลักษณะคล้ายแบบฟอร์มในกระดาษเพียงแต่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ของฟอร์มคือใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลเรคอร์ดใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่มีอยู่
ข้อมูลจากตารางและการสอบถามสามารถนำไปใช้สร้างรายงาน (Report) ได้
การใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ
ความสามารถในการใช้ข้อมูลร่วมกันให้เกิดประโยชน์และความสะดวกสบายในการทำงานระหว่างโปรแกรมประยุกต์
ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการทำงานนำเสนอ
บางครั้งอาจจะต้องรวมแผนภูมิจากโปรแกรมตารางทำการหรือข้อมูลจากฐานข้อมูล
ข้อมูลจากซอฟต์แวร์ประยุกต์หนึ่งจะสามารถนำไปใช้ร่วมกันระหว่างซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น
ๆ ได้หลายทาง เช่น การคัดลอกและวาง การเชื่อมโยง และการฝังวัตถุ
1.
การคัดลอกและวาง เป็นวิธีที่ตรงที่สุดโดยเพียงแต่เลือกข้อมูลหรือวัตถุที่ต้องการแล้วใช้คำสั่งคัดลอก
(Copy) จากนั้นเปิดไฟล์ที่ต้องการวางข้อมูลดังกล่าว
วางตัวชี้ในตำแหน่งที่ต้องการแล้วใช้คำสั่งวาง (Paste)
การใช้ข้อมูลร่วมกันในลักษณะนี้จะเป็นแบบอยู่คงที่คือ
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากต้นทางจะไม่กระทบกับข้อมูลที่ถูกนำไปวาง
2.
การเชื่อมโยงและฝังวัตถุ (Object Linking and Embedding : OLE) เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก
ทำให้สามารถใช้ข้อมูลหรือวัตถุ (Object) ที่สร้างจากโปรแกรมอื่นได้
ตัวอย่างเช่น
สามารถสร้างภาพแผนภาพจากโปรแกรมตารางทำการแล้วนำมาใส่ไว้ในเอกสารของโปรแกรมประมวลผลคำ
3.
การเชื่อมโยงวัตถุ (Object linking) เป็นการคัดลอกวัตถุจากไฟล์ต้นทาง
(Source file) แล้วไปใส่ในไฟล์ปลายทาง (Destination file) จากนั้นการเชื่อมโยงระหว่างไฟล์ทั้งสองจะถูกสร้างขึ้นอัตโนมัติ
ถ้าไฟล์ต้นทางมีการเปลี่ยนแปลง วัตถุในไฟล์ปลายทางจะเปลี่ยนแปลงตามด้วย
ตัวอย่างเช่น ถ้านำแผนภาพจากโปรแกรมตารางทำการไปใส่ไว้ในเอกสารประมวลคำ
แผนภาพนั้นจะปรากฏอยู่ในเอกสารประมวลผลคำ
แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแผนภาพในแผ่นตารางทำการจะทำให้แผนภาพในเอกสารประมวลผลคำเปลี่ยนแปลงตามอย่างอัตโนมัติ
4.
การฝังวัตถุ (Object embedding) เป็นการนำวัตถุจากไฟล์ต้นทางไปฝังหรือรวมเข้าไว้กับเอกสารปลายทาง
การฝังวัตถุจะทำให้สามารถเปิด และแก้ไขวัตถุจากไฟล์ต้นทางภายในไฟล์ปลายทางได้
โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวัตถุที่ฝังตัวจะไม่มีผลกับไฟล์ต้นทาง
ตัวอย่างเช่น
ถ้านำเอกสารจากโปรแกรมนำเสนอไปฝังในเอกสารประมวลผลคำซึ่งเป็นไฟล์ปลายทาง
จะสามารถแก้ไขงานนำเสนอหรือแสดงการนำเสนอได้โดยตรงในเอกสารประมวลคำ
การเปลี่ยนแปลงใด ๆ กับวัตถุที่ถูกฝังในไฟล์ปลายทาง จะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในไฟล์ต้นทาง
วิธีคำนวณสูตรผลรวมใน excel (SUM)
สำหรับคนที่ใช้ตารางการคำนวนต่างๆ หรือต้องการหาค่าผลรวมในโปรแกรม Microsoft excel สำหรับมือใหม่นั้น
คงจะหาวิธีในการช่วยคำนวนค่าผลรวมต่างๆ
จากตารางที่เราได้ออกแบบไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย หรือรวมคะแนนนักเรียน
รวมตัวเลขต่างๆ เราลองมาดูกันว่าต้องใส่สูตรอะไรลงไปเพื่อใช้งานการรวมค่า excel กันครับ
วิธีการรวมค่าผลลัพธ์ในโปรแกรม excel
สำหรับวิธีการรวมค่าผลลัพธ์นี้นะครับ เพื่อนๆหลายคนที่ได้เรียนโปรแกรม
เอ็กเซลล์ ( excel ) คงจะสงสัยว่า
นอกจากวิธีคลิกลากรวมเซลล์แล้ว ต้องใส่สูตรหาค่าผลรวมยังไงบ้าง
ไม่ยากอย่างที่คิดครับ ลองมาดูกันเลย
ก่อนอื่นเปิดตารางที่ได้ทำการออกแบบไว้ก่อนนะครับ
ใครที่ไม่มีตาราง หรือยังไม่ได้ออกแบบตาราง
ทำตารางไว้ก็เปิดหน้าขึ้นมาใหม่แล้วทดสอบสร้างตารางดูได้เลยนะครับผม
สมมติว่า แอดมินขอสร้างเป็นตารางค่าใช้จ่าย และรายได้
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นนะครับโดยจะกรอกค่าต่างๆ ในส่วนของหัวข้อ ค่าใช้จ่าย และ
หัวข้อรายได้ คร่าวๆ สัก 2-3 ค่า
ขอตกแต่งตารางนิดนึงเพื่อให้เพื่อนๆได้เห็นชัดเจนมากขึ้น
สัง เกตุว่า สิ่งที่เราต้องรู้จักคือ ด้านซ้ายจะเป็นลำดับของเซลล์คือ “3” ด้านบนเป็นลำดับของเซลล์คือ “B” ช่องในตารางที่มีค่า “100” ก็คือเซลล์ “B3”
ถ้าจะเรียกก็คือ “เซลล์ B3 มีค่าเท่ากับ 100” วิธีแรกในการคำนวณค่าผลรวมของเซลล์ต่างๆ ทังแนวตั้ง และแนวนอนคือ การคลิกซ้ายที่เซลล์เริ่มต้น และเซลล์สุดท้าย ตามความต้องการของเรา เช่น คลิกซ้ายที่เซลล์ B3 ลากครอบ มาจนถึง B5 เพื่อดูค่าผลรวมทั้งหมด
สังเกตุด้านล่างตรงแทบ จะมีค่าผลรวมแสดงอยู่ ค่าที่ได้คือ 550 จากที่เราได้ลากครอบเซลล์เมื่อสักครู่ อันนี้เป็นวิธีที่ 1
ส่วน วิธีที่ 2 คือการใส่สูตรให้กับผลรวมที่เราต้องการ เช่น เราต้องการรวมค่าทั้งหมดของ ค่าใช้จ่าย ก็ให้ทำการพิมพ์สูตรลในช่องว่า “=sum”
รูป แบบในการใช้สูตรนี้คือ =sum(ตำแหน่งของเซลล์ หรือตัวเลขตำแหน่งที่เราต้องการรวม เช่น เราต้องการรวม “B3” ไปจนถึง “B15” ก็ให้ใส่สูตร “=SUM(B3:B15)” เครื่องหมาย : ความหมายคือ “ถึง”
พอกรอกสูตรลงไปเสร็จแล้วก็กด enter จะได้ค่าผลรวมดังต้องการ คือ 550 เช่นเดียวกับวิธีที่ 1 ก่อนหน้านี้ครับ
น ช่องถัดมาของหัวข้อ “รายได้” หากต้องการใช้สูตรเดียวกัน ก็ให้ทำการพิมพ์ลงไปคล้ายๆกัน แต่เปลี่ยนจาก B เป็น C ตามตำแหน่งปัจจุบันและกด enter ก็จะได้ผลลัพธ์
** ที่สำคัญในการใช้งานคือ ต้องรู้ว่า ตำแหน่งไหน อักษรใด ถ้าผิดเพราะบางครั้งเรามองผิดช่อง ผิดตัวอักษร ต้องระวังให้ดีนะครับผม
คลิกซ้ายลากจากจุดเล็กๆขวามือของช่อง ที่มีค่า 1100 มาทางขวามือแล้วปล่อยนะครับ ก็จะได้ค่าที่มีสูตรมาให้เรียบร้อยครับ
เป็นการ copy สูตรนะครับ
แต่ก็ ต้องตร วจเช็คสูตรที่ได้มาด้วยนะครับผม กันพลาดครับผม
วิธีคำนวณค่า excel โดยเลือกหลายๆค่า หลายๆเซลล์
สำหรับวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ว่า เราต้องการรวมค่าจากหลายๆเซลล์ นอกเหนือจากการรวมค่าทั้งหมดในแถวนั้นนะครับผม
โดยเราสามารถเลือกตามเซลล์ที่เราต้องการได้เลย ตรง นี้หากใครต้องการรวมค่า โดยมีมากกว่าหนึ่งค่า และข้ามตัวอักษร
เช่น รวมค่า B4 , B3 ,C2 ,D2 ก็ให้ใช้เครื่องหมาย , ครับผมตามตัวอย่างเลยครับ
ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นสูตรเช่น =SUM(B4,B3,C2,D2) และกด enter เราก็จะได้ค่าที่เราต้องการออกมาแล้วครับ
สังเกตุด้านบนนะครับ จะมีสูตรที่เรากรอกอยู่ จากผลลัพธ์ที่ได้ 790 ครับผม นั่นคือ รวมค่าของช่อง D3 กับ D5 ครับผม
ยังไงก็ลองเอาไปประยุกต์ใช้งานดูนะครับ มีอีกหลายเทคนิคดีๆ ที่มือใหม่หัดใช้ Microsoft excel ได้ติดตามกันเรื่อยๆครับผม แนะนำกันเข้ามาได้นะครับ ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น