การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและ ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้องพึ่งพา Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ?
1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง
การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา
ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine
คำตอบก็ คือวิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึง กันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจิงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหลัง
ประเภทของ Search Engine
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ
1. Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine
สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้
1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ
2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง
3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)
4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site
5. ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บ เพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ
***เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล
ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนีไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือ จำกัดคำที่ค้น หาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด ดังวิธีการต่อไปนี้
1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด(อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่ามีอยู่ 2 แบบ) ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่จะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine
2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)
3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใหล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า
4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "free shareware" เป็นต้น
5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ ตัว อักษรใหญ่แทน
6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ - AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ () ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (pentium+computer)cpu
8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ
9.หลีก เลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ คุณก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98"
10. หลีก เลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค คุณควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้ Advanced Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น
11. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือคุณ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์
โปรแกรมเวบบราวเซอร์ Web Browserปรแกรม Web Browser นั้นมีมากมายจากหลายค่ายหลายบริษัท แม้จะมีรูปแบบการใช้อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่มีจุดประสงค์เดียวกันคือ ไว้ใช้สำหรับท่องอินเทอร์เน็ต แสดงผลข้อมูลภายในเว็บเพจ สามารถจัดการไฟล์วิดีโอ เสียง รูปภาพ หรือแม้กระทั่งการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ก็สามารถกระทำได้ สำหรับโปรแกรม Web Browser ที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีตและในปัจจุบันเช่น Internet Explorer Mozilla Firefox และ Google Chrome เราจะมาศึกษากัน
1. แถบชื่อโปรแกรมหรือ Title bar แสดงชื่อเว็บเพจที่เรียกดู และชื่อโปรแกรม
ปกติ Mozilla Firefox จะมีปลั๊กอินสำหรับช่วยในค้นหาของ Google ให้สะดวกยิ่งขึ้น
โปรแกรมเวบบราวเซอร์ Web Browserปรแกรม Web Browser นั้นมีมากมายจากหลายค่ายหลายบริษัท แม้จะมีรูปแบบการใช้อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่มีจุดประสงค์เดียวกันคือ ไว้ใช้สำหรับท่องอินเทอร์เน็ต แสดงผลข้อมูลภายในเว็บเพจ สามารถจัดการไฟล์วิดีโอ เสียง รูปภาพ หรือแม้กระทั่งการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ก็สามารถกระทำได้ สำหรับโปรแกรม Web Browser ที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีตและในปัจจุบันเช่น Internet Explorer Mozilla Firefox และ Google Chrome เราจะมาศึกษากัน
1. Internet Explorer หรือเรียกสั้นๆ ว่า IE
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ Internet Explorer ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอร์ฟ
เป็นที่นิยมอย่างมากหลักจากได้มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows98 ซึ่งเวอร์ชั่นในขณะนั้นคือ เวอร์ชั่น 3 แต่เดิมทีนั้นในโลกของอินเทอร์เน็ต
บริษัทที่ครองตลาดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ก็คือ Netscape
navigator ซึ่งได้รับความนิยมสูงในขณะนั้น
แต่ด้วยความเป็นโปรแกรมที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ผนวกกับทางไมโครซอต์ฟ ได้เปิดตัว Windows98 ซึ่งได้แถมInternet
Explorer เวอร์ชั่น 3 มาด้วย
ทำให้เป็นฟรีแวร์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้จึงหันมาใช้ IE กันมากขึ้นตามลำดับ และครองตลาดไปโดยปริยาย
ปัจจุบันในพัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น 7 ในยุคของ WindowsXP และ เวอร์ชั่น 8 ในยุคของ Windows7 ระบบปฏิบัติใหม่ล่าสุด
IE เป็นโปรแกรมประเภทฟรีแวร์
ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาว์นโหลดโปรแกรมได้ทาง http://www.microsoft.com อีกประการหนึ่งโปรแกรมนี้จะแถมมากับระบบปฏิบัติการ
Windows ทุกเวอร์ชั่น ซึ่งหากได้ติดตั้งแล้วก็สามารถใช้งานได้เลย
คุณสมบัติของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ Internet
Explorer V.7
- อ่านเอกสารแบบออฟไลน์ได้
- โอนไฟล์ข้อมูลได้ด้วย
FTP
- ใช้แถบเครื่องมือในการลิงค์ได้
- อับเดต Windows
- ปลอดภัยจากการโจรกรรมด้วย
ActiveX
- ตั้งค่าความเร็วในการแสดงผลข้อมูล
- ปรับแต่งหน้าเอกสารก่อนพิมพ์หน้าเว็บเพจ
ถัดไปจะเป็นส่วนประกอบของหน้าจอใช้งานหลักและปุ่มที่สำคัญๆ
1. แถบชื่อโปรแกรมหรือ Title bar แสดงชื่อเว็บเพจที่เรียกดู และชื่อโปรแกรม
2. แถบคำสั่ง หรือ Menu รวมรวมคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม ในรูปแบบคำสั่งย่อยในคำสั่งหลัก
3. แถบเครื่องมือมาตรฐานหรือ Tool bar แสดงคำสั่งที่ใช้งานกันบ่อยๆ
4. แถบชื่อเอกสารหรือ Address bar ใช้พิมพ์ที่อยู่หรือตำแหน่งของเว็บเพจที่ต้องการ เช่น
www.google.co.th เป็นต้น
www.google.co.th เป็นต้น
5. ปุ่ม Go ใช้คลิกเพื่อไปยังเว็บไซต์ตามที่อยู่ในข้อ 4 หรือใช้กดปุ่ม เอ็นเตอร์ (Enter) ก็ได้
6. พื้นที่แสดงเว็บเพจ แสดงผลข้อมูลต่างภายในเว็บเพจ
7. แถบสถานะ แสดงสถานะของหน้าเว็บเพจ ณ ขณะนั้น
2. Mozilla Firefox หรือเรียกสั้นๆ
ว่า Firefox
ผู้คนส่วนใหญ่ที่เล่นอินเทอร์เน็ต เป็นเปิดเว็บไซต์เป็นประจำคงจะรู้จักกับคำว่าเว็บบราวเซอร์
หรือโปรแกรมท่องเว็บ ส่วนใหญ่แล้วเราคงจะรู้จักกันแต่เว็บบราวเซอร์ Internet Explorer ของ Microsoft แต่รู้หรือไม่ว่า
IE ที่ใช้อยู่นั้น ปัจจุบันมันยังไม่ปลอดภัย
เพราะว่าทางทีมงานไม่ได้พัฒนามานานแล้ว ฉะนั้นจึงเสี่ยงเรื่องของความปลอดภัย ซึ่ง Firefox นั้นเป็นอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ตัวใหม่ที่จะเข้ามาแข่งกับ
IE Internet Explorer นำทีมการสร้างโดย Mozilla โดยมีนักพัฒนาต่อยอดอยู่ทั่วทุกมุมโลก
คุณสมบัติของ Firefox ที่เด่นกว่า IE คือ โปรแกรมมีขนาดเล็กกว่าทำให้การโหลดข้อมูล ทางหน้าเว็บเพจทำได้รวดเร็ว ใช้งานได้สะดวก
แท็บด้านบนทำให้ทำให้เข้าได้หลายเว็บไซด์พร้อมๆกันโดยไม่ ต้องเปิด window ใหม่
อีกทั้งยังมีการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องอินเทอร์เน็ต เช่น เมนูของGoogle สำหรับการค้นหาข้อมูล
Firefox เป็น Browser ที่มีกระแสการตอบรับอย่างรวดเร็วเมื่อต้นปี 2006 ซึ่งขณะนี้มีผู้ใช้ Browser ตัวนี้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
มียอดการ download ไปใช้งานเกือบ 300 ล้านครั้งแล้ว นั่นแสดงให้เห็นว่า Firefox
ต้องมีอะไรสักอย่างที่ดึงดูดนักท่องเว็บเหล่านั้น
จุดเด่นที่สำคัญของ Mozilla Firefox ที่น่ากล่าวถึงเป็นอย่างแรกคือ
ความเป็นโปรแกรม open source แจกฟรีให้กับผู้ใช้ทั่วไปที่พัฒนาโดยองค์การที่ไม่หวังผลกำไรและคน
ทั่วไปนั่นเอง
คุณสมบัติที่น่าสนใจของ Firefox
1.ความรวดเร็ว
Firefox จะทำให้คุณสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ
ได้รวดเร็วกว่า ด้วยการทำงานของโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ
และยังสามารถปรับแต่งเพื่อเร่งการทำงานให้เร็วได้สูงสุด
2.ความปลอดภัย
หากโดนบุกรุกจากเหล่าสปายแวร์ โทรจัน ไวรัส จากโลกไซเบอร์บ่อยๆ
รับรองว่าถ้าหากได้ใช้ Firefox ปัญหาต่างๆที่เคยประสบจะลดลงอย่างแน่นอน
ด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยที่เหนียวแน่นและระบบการอัพเดตของ Firefox จะช่วยอุดช่องโหว่ใหม่ๆได้อย่างทันท่วงที
3.ฟรีแวร์ 100% แน่นอนที่สุด
คือโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมฟรี แถมยังเป็นโปรแกรมเปิด หรือ OpenSource เพื่อให้เหล่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือผู้ใช้ที่พบเห็นข้อบกพร่องในการใช้งาน
ได้ส่งข้อบกพร่องหรือทางแก้ไขนั้นๆ ทำให้ Firefox มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
และกระแสตอบรับดีเสมอมา
หลายหลายคุณสมบัติในการท่องเว็บไซต์หากคุณนักท่องโลกไซเบอร์
ถ้าได้ลองสัมผัสคุณสมบัติต่างๆของ Firefox
รูปร่างหน้าตาของ Mozilla Firefox หน้าเริ่มต้น
ปกติ Mozilla Firefox จะมีปลั๊กอินสำหรับช่วยในค้นหาของ Google ให้สะดวกยิ่งขึ้น
สรุปจุดเด่นของ Mozilla Firefox
1. เป็นโปรแกรม Open source จุดเด่นของ open source คือ จริงใจ
ไม่ปิดบัง โดยทุกคนเห็นข้อมูลทุกอย่าง และส่งเสริมการพัฒนาต่อโดยประชาคม Open source หมายความว่า ทุกคนรู้ทุกอย่างในโปรแกรมที่เป็น open source ได้ ผู้คนเหล่านี้ รวมทั้ง ผู้ชำนาญด้านความปลอดภัย
และนักพัฒนาโปรแกรม ที่กระจายอยู่ทั่วโลก Firefox มีความเป็น open source มาโดยตลอด ทำให้ใครก็ตามทั่วโลก
ที่มีความรู้ด้านภาษาคอมพิวเตอร์นี้ สามารถมองทุกอย่างที่อยากรู้ได้ในโปรแกรม
มองออกได้ว่ามีจุดบกพร่องใด พร้อมที่สามารถแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบได้ถึงปัญหา
และสิ่งอื่นใด อีกทั้งสามารถพัฒนาสร้างโปรแกรมเสริมต่อการใช้งานของ Firefox ได้ ซึ่งเรียกว่า add-ons กรณีมีการโจมตีจาก virus,worm,malware,spyware หรือที่ไม่ดีอื่นใด ผู้รู้จัก open source โดยเฉพาะผู้หลงไหลใน open source จำนวนมากทั่วโลก สามารถแก้ไขขึ้นได้ด้วยตัวเอง
หรืออย่างน้อยก็บอกต่อกัน ทำให้ Firefox ปรับตัวได้เร็วมาก
จึงมี safety ที่ดี แม้เพียงมีความผิดปกติขึ้นเพียงเล็กน้อย
ก็อาจตรวจพบได้แล้ว การเป็น open source จึงอาจถูกมองได้ว่าเป็นปัญหา
เพราะผู้ไม่หวังดี รู้ข้อมูลทั้งหมดในการสร้างโปรแกรมไม่ดีมารบกวน แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ไม่เป็นเช่นนั้น. ดังเห็นได้ว่า พลังของชาว Firefox แข็งแกร่งกว่า
และพร้อมกว่า และที่สำคัญคือ ผู้มีความรู้มักสร้างประโยชน์ขึ้นกับตนเอง
และกลุ่มมากกว่า ไปสร้างความเสียหาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่คอยดูแล
ปกป้อง Firefox
2. ความปลอดภัยหรือ Security บนโลกของอินเทอร์เน็ต ยังไม่มีความปลอดภัย 100%
เพราะเหตุการณ์ และปัจจัยเปลี่ยนแปลง และเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม Firefox ให้ความปลอดภัยกว่าจากปัจจัยลบ เช่น spyware,hackers,scammers และspammers
Phishing protection จาก Firefox ให้ความปกป้องทางการเงินและความเป็นส่วนตัว
3. Google Chrome เว็บบราวเซอร์ตัวใหม่ล่าสุด
Google Chrome คือเว็บเบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยบริษัทเสิร์ชเอนจิ้นยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างกู
เกิล (Google) คู่แข่งสำคัญของบริษัท Microsoft ซึ่งเป็นเว็บบราวเซอร์ที่มีความเร็ว
มีธีมและหน้าตาที่สวยงามน่า ใช้ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้พัฒนามาจนถึงเวอชั่น 4 แล้ว
ด้วยการใช้งานที่ง่าย เป็นฟรีแวร์
และสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที
เปิดตัวพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Google Chrome
OS แบบเดียวกับ Microsoft ซึ่งบราวเซอร์ตัวนี้มีคุณสมบัติที่น่าสนใจมากมาย
คุณลักษณะต่างๆ ของ
Google Chrome
-
ช่องแท็บสำหรับใส่ที่อยู่หรือ Address สามารถใช้เป็นช่องค้นหาได้
-
สามารถตั้งเลือกค่าให้บุ๊คมาร์คในแต่ละเครื่องปรับตรงกันได้โดยอัตโนมัติ
-
สามารถลากแท็บออกจากเบราว์เซอร์เพื่อสร้างหน้าต่างใหม่และรวมหลายๆ
แท็บไว้ในหน้าต่างเดียว
-
แท็บทุกแท็บที่กำลังใช้ ทำงานอย่างอิสระในเบราว์เซอร์
-
มีโหมดไม่ระบุตัวตนสำหรับการเข้าชมแบบส่วนตัว
-
มีส่วนขยายให้เลือกติดตั้งเพิ่มลงไปตามต้องการ
โดยสามารถติดตั้ง Google Chrome ซึ่งเป็นฟรีแวร์ได้ที่
http://www.google.com/chrome
คุณลักษณะใหม่ล่าสุด
ส่วนขยายของ Google Chrome คือ โปรแกรมขนาดเล็กที่ช่วย เพิ่มคุณลักษณะต่างๆ
ที่เป็นประโยชน์ให้กับบราวเซอร์ของคุณ ส่วนขยายมีทั้งการแจ้งข่าวและการแจ้งเตือนที่เป็นประโยชน์
พร้อมกันนี้คุณยัง สามารถเข้าถึงเว็บแอปพลิเคชันโปรดหรือแหล่งข่าวสาร
และปรับปรุงการทำงาน ออนไลน์ เช่น การเรียกดูภาพถ่าย การรับเส้นทาง
หรือช็อปปิ้งได้อย่างง่ายดายยิ่ง ขึ้นอีกด้วย
การแปลในเบราว์เซอร์
Chrome เป็นเบราว์เซอร์แรกที่รวมเอาการแปลจากคอมพิวเตอร์เข้าไว้ใน
เบราว์เซอร์โดยไม่ต้องมีปลั๊กอินหรือส่วนขยายเพิ่มเติม
เมื่อภาษาบนหน้าเว็บไม่ตรงกับการตั้งค่าภาษาที่กำหนดไว้ในเบราว์เซอร์ Chrome จะถามโดยอัตโนมัติว่าต้องการให้แปลหน้าเว็บเป็นภาษาที่คุณตั้งค่าไว้หรือไม่
และคุณลักษณะที่ได้รับความนิยมมาก
ที่สุดจากคือ Chrome ธีม
ซึ่งสามารถตกแต่งบราวเซอร์ของคุณด้วยธีมจากศิลปินทั่วโลก หน้าแท็บใหม่
ไปที่เว็บไซต์โปรดของคุณได้ง่ายๆ จากหน้าแท็บใหม่ เมื่อคุณเปิด แท็บใหม่
ไซต์ที่คุณเข้าชมบ่อยที่สุดจะพร้อมให้คุณใช้งานทันที แถบอเนกประสงค์
ใช้แถบอเนกประสงค์เพื่อพิมพ์ทั้งที่อยู่เว็บและข้อความค้นหา
*สรุปบทที่ 2
โปรแกรม
เว็บบราวเซอร์ คือโปรแกรมที่ใช้ในการเปิดดูข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลภายในเว็บเพจ
เขียนด้วยภาษา HTML ทำหน้าที่ในการแสดงผลของ
ข้อมูลเอกสาร เว็บบราวเซอร์สามารถอ่านข้อมูลที่เป็นภาพ 2 มิติและ 3 มิติ
ภาพเคลื่อนไหว เสียง การเชื่อมโยงข้อมูล และสามารถจัดเก็บในรูปแบบต่างๆ ได้
โปรแกรม เว็บบราวเซอร์ที่มีตั้งแต่ในอดีตจนถึงในปัจจุบันอันได้แก่ Internet Explorer,MozillaFirefox,Opera,Netscape navigator และ Google chrome ส่วนประกอบของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์โดยทั่วไป
หลักๆ อันได้แก่
1. Title bar(แถบชื่อ)
แสดงชื่อเว็บที่เรากำลังใช้อยู่
2. Menu Bar(แถบเมนู)
ทำหน้าที่แสดงเมนูคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งกลุ่มของคำสั่ง โดยประกอบไปด้วย เมนูFile,เมนูEdit,เมนูView และเมนูFavorites
3.เมนูTools และเมนูHelp โดยคำสั่งเหล่านี้จะมีการแสดงคำสั่งย่อยๆ
4.Tool Bar(แถบเครื่องมือ)
ทำหน้าที่แสดงปุ่มคำสั่งต่างๆที่มีการใช้งานบ่อยๆ
โดยแสดงปุ่มรูปภาพซึ่งสื่อถึงการใช้งาน เมนูคำสั่ง เมนู View และ เมนู Favorites
5.Address Bar(แถบที่อยู่)
ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่างๆ
6. พื้นที่ในการแสดงข้อมูลบนเว็บเพจ
โดยพื้นที่ดังกล่าวจะแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏในเว็บเพจต่างๆ
ซึ่งพื้นที่ในการแสดงข้อมูลบนเว็บเพจนี้ จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เป็นตัวอักษร
รูปภาพ และการเชื่อมโยงข้อมูล
7. Status Bar(แถบสถานะ)
ทำหน้าที่ในการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการเชื่อมโยงในเว็บเพจ
ซึ่งจะแสดงชื่อของเว็บเพจที่ทำการเชื่อมโยง
สารบบเว็บ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สารบบเว็บ หรือ เว็บไดเรกทอรี (อังกฤษ: web directory)
หมายถึงสารบบหนึ่งบนเวิลด์ไวด์เว็บ
ที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์อื่นและแบ่งแยกหมวดหมู่ไว้สำหรับการเชื่อมโยงเหล่านั้น
สารบบเว็บไม่ใช่เสิร์ชเอนจิน และไม่แสดงรายการเว็บเพจจากคำหลัก (keyword) แทนที่จะเป็นเช่นนั้น
สารบบเว็บจะแสดงรายการเว็บไซต์ตามหมวดหมู่และหมวดหมู่ย่อย
ซึ่งการจัดหมวดหมู่นี้แบ่งตามประเภทของเว็บไซต์ทั้งเว็บ
มากกว่าการแบ่งทีละหน้าหรือการแบ่งโดยกลุ่มของคำหลัก เว็บไซต์ต่างๆ
มักจำกัดให้จัดอยู่ในหมวดหมู่เพียงไม่กี่หมวดหมู่เท่านั้น
สารบบเว็บมักอนุญาตให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถเพิ่มรายชื่อเว็บไซต์ได้โดยตรง
และมีผู้แก้ไขกลั่นกรองข้อมูลเพิ่มเติมอีกชั้นหนึ่ง
สารบบอาร์เอสเอส (RSS directory) มีลักษณะคล้ายกับสารบบเว็บ
แต่เป็นการรวบรวมแหล่งข้อมูลป้อนเข้าสำหรับอาร์เอสเอส
แทนที่จะป็นการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์
ขอบเขตของรายการ[แก้]
สารบบเว็บส่วนมากมีขอบเขตที่ไม่เฉพาะเจาะจง
และแสดงรายการเว็บไซต์ข้ามหมวดหมู่ ภูมิภาค และภาษาอย่างกว้างขวาง
แต่ก็มีสารบบเว็บจำนวนมากที่สงวนไว้สำหรับภูมิภาคจำกัด ภาษาเดียว
หรือส่วนของผู้ชำนาญเฉพาะทาง เป็นต้น ประเภทหนึ่งในจำนวนนี้ที่มีอยู่จริงเช่น
สารบบการเลือกซื้อ (shopping directory) จะรวบรวมเว็บไซต์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สารบบเว็บแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเช่น Open Directory
Project (ODP) ซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากการแบ่งหมวดหมู่ที่สามารถขยายเพิ่มเติมไปได้เรื่อยๆ
มีรายการเว็บไซต์จำนวนมาก
และเป็นเนื้อหาเสรีที่สามารถนำไปใช้โดยเสิร์ชเอนจินและสารบบเว็บอื่นๆ[1]
อย่างไรก็ตาม
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับคุณภาพของสารบบและฐานข้อมูลก็ยังคงดำเนินอยู่
ดังเช่นในเสิร์ชเอนจินที่ใช้เนื้อหาของ ODP โดยไม่มีการรวมเข้ากับสิ่งที่เป็นจริง
และการทดลองบางอย่างที่ใช้การกระจายข้อมูล (data clustering) มีความพยายามหลายอย่างเรื่อยมาที่จะทำให้การพัฒนาสารบบสามารถทำได้ง่ายขึ้น
อาทิการส่งข้อมูลเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องถึงกันโดยอัตโนมัติด้วยสคริปต์หรือโปรแกรม
เมื่อไม่นานมานี้ซอฟต์แวร์ทางสังคม (social software) ได้ใช้เทคนิคใหม่โดยการใช้แท็ก
(tag) เข้ามาช่วยในการจัดแบ่งหมวดหมู่
สารบบเว็บมีคุณลักษณะของการแสดงรายการที่แตกต่างกันไป
ซึ่งมักขึ้นอยู่กับการจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมเพื่อให้ได้คุณลักษณะใหม่
ตัวอย่างเช่น
รายการแบบฟรี – คุณลักษณะนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
สำหรับการเรียกดูรายชื่อเว็บไซต์
รายการแบบจ่าย – อาจเป็นค่าธรรมเนียมจ่ายครั้งเดียวหรือจ่ายเพื่อต่ออายุ
สำหรับการเรียกดูรายชื่อเว็บไซต์
ลิงก์เชื่อมโยงกลับ – เป็นลิงก์ที่กลับมายังสารบบเว็บสำหรับเพิ่มลงในเนื้อหาเว็บไซต์
เพื่อให้เว็บไซต์นั้นมีตัวตนอยู่ในสารบบและสามารถเก็บสถิติได้
ไม่อนุญาตให้ตามลิงก์ – คุณลักษณะนี้เป็นตัวบ่งบอกเสิร์ชเอนจินว่าไม่ให้วิ่งตามลิงก์ออกไปเว็บไซต์อื่น
โดยการใส่คุณสมบัติ rel="nofollow" เป็นต้น
รายการผู้สนับสนุน – ลิงก์ของเว็บไซต์จะอยู่ในตำแหน่งพิเศษในหมวดหมู่ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนกว่าตำแหน่งปกติ
การประมูลตำแหน่ง – การแสดงรายชื่อในตำแหน่งพิเศษจะต้องประมูลเพื่อให้ได้มา
ลิงก์ในเครือ – สารบบเว็บจะเป็นผู้จ่ายค่าคอมมิชชันให้ผู้ที่สามารถดึงลูกค้าเข้ามาสมัครกับเว็บไซต์ที่ลงทะเบียนไว้
วิธีการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์
การสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine
เสิร์ชเอนจิน (search engine)
หรือ โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล
โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง
ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ
ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย
เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป
จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน
เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น
กูเกิลจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย
และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
ตัวอย่าง Web Search
Engine
1. http://www.google.co.th/
2. http://www.youtube.com/
3. http://dict.longdo.com
การสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย
Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
1.
ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น
ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “เว็บ”
3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”
5.
ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบ
การสืบค้นรูปภาพด้วย Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นรูปภาพด้วย Search Engine
1.
ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
2.
เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “รูปภาพ”
3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”
5.
ระบบจะทำการค้นหารูปภาพที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ
และแสดงรูปภาพที่ค้นหาพบ
การสืบค้นแผนที่ด้วย Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นแผนที่ด้วย Search Engine
1.
ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
2.
เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “แผนที่”
3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) สถานที่ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา Maps”
5. ระบบจะทำการค้นหาสถานที่ที่ต้องการ แล้วแสดงออกมาในรูปแบบของแผนที่
รวมไปถึงลิ้งค์ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ
การสืบค้นวีดิโอด้วย Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นวีดิโอด้วย Search Engine
1.
ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.youtube.com
2. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text
box
3. กดที่ปุ่ม “search”
4.
ระบบจะทำการค้นหาวีดิโอที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ
และแสดงวีดิโอที่ค้นหาพบ
การสืบค้นคำศัพท์ด้วย Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นคำศัพท์ด้วย Search Engine
1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://dict.longdo.com
2. พิมพ์คำศัพท์ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
3. เลือกบริการ “dictionary”
4. กดที่ปุ่ม “submit”
5. ระบบจะทำการค้นหาคำศัพท์ที่ต้องการพร้อมคำแปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น